ประวัติความเป็นมาของขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์
โดย ครูเกริกกุล เลาหะพานิช
ขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ เป็นขลุ่ยที่มีปลายส่วนปากเป่าเป็นลักษณะคล้ายนกหวีด มีเสียงนุ่มนวล บางเบา นิยมเล่นกันมาตั้งแต่ยุคบาโรค (ช่วงปี ค.ศ. 1600-1750) ซึ่งขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ที่เราเล่นกันอยู่ก็มาจากช่วงยุคบาโรคนี่เอง และได้รับการปรับปรุงใหม่ เกิดใหม่ในช่วงศตวรรษที่ 20 และยังคงได้รับความนิยมเรื่อยมา จนถึงปัจจุบัน
![]() |
ภาพการบรรเลงขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ของนักเรียนในต่างประเทศ |
![]() |
ขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ |
กล่าวคือ ต้นตระกูลของขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ เป็นเครื่องดนตรีที่มีลักษณะคล้ายนกหวีด คือเป็นขลุ่ยประเภทที่เป่าลมเข้าไปแล้ว มีทางบังคับลมให้ตรงไปที่ส่วนที่เป็นจุดกำเนิดเสียง ทำให้เสียงที่เกิดขึ้นนั้นมีความใส ความชัดเจน แน่นอนและแม่นยำทุกครั้งที่เป่า
ให้นักเรียนคิดถึงเวลาเป่านกหวีดก็มีลักษณะคล้ายกัน คือ เป่าลงไปแล้วมีช่องทางบังคับลมที่เป่าให้ออกไปทางเดียวกันอย่างแม่นยำทุกครั้ง เสียงที่ได้จึงไม่มีความเพี้ยนหรือ มีความเพี้ยนน้อยมาก ( ความเพี้ยนในความหมายของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า คือความเพี้ยนที่อาจเกิดจากการวางปาก การวางนิ้ว การบังคับทิศทางลมของผู้เล่น หรือความเพี้ยนที่อาจเกิดจาก ลักษณะเฉพาะของเครื่องดนตรี เช่น ลิ้น นวม เป็นต้น )
ซึ่งเครื่องดนตรีประเภทที่คล้ายนกหวีดแบบนี้ มนุษย์เรารู้จักประดิษฐ์ขึ้นมานับพันปี แล้ว จากหลักฐานที่ค้นพบก็คือ มีการค้นพบเครื่องดนตรีที่ทำจากกระดูกแกะ ในยุคเหล็ก ที่ประเทศอังกฤษ ซึ่งก็มีลักษณะเป็นปากเป่าให้เกิดเสียง มีรูปิดเปิดนิ้ว 3 -5 รู เป็นต้น
การที่จะกำหนดวันเวลา หรือช่วงยุคสมัยที่เกิดขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ขึ้นเป็นครั้งแรกนั้น เป็นหัวข้อที่มีการถกเถียงกันอย่างกว้างขวาง ในหมู่สถาบันการศึกษาต่างๆทั่วโลกโดยเฉพาะในยุโรป ซึ่งกล่าวกันว่า
ขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ในยุค บาโรค (Baroque Age ค.ศ.1600-1750 )เป็นขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ที่มีลักษณะเหมือนกับขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ในปัจจุบันมากที่สุด ในยุคบาโรค ขลุ่ยนี้ถูกนำมาใช้เล่นทำนองหลัก ในลักษณะเดียวกับเครื่องดนตรีที่เรียกว่า ฟลู้ท (Flute) ในวงออร์เคสตร้า คือเป็นเครื่องดนตรีที่ต้อง โซโล (Solo) นับว่า เป็นยุคที่ขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ได้รับความนิยมอย่างมาก โดยนักแต่งเพลงคนสำคัญอย่าง บาค (Bach) ,เฮนเดล (Handel) และเทเลมาน(Telemann) เป็นต้น
ต่อมาในยุคศตวรรษที่ 18 (ค.ศ.1700-1800) ขลุ่ยที่มีลักษณะคล้าย Flute เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงข้อเสียอย่างหนึ่งของขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ว่า เสียงของขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์นั้น ถึงแม้จะใส ชัดเจน ความเพี้ยนน้อย แต่เนื้อเสียงก็เล็ก และบางเบามาก ขณะที่ขลุ่ย Transverse Flute นั้น เสียงดังกว่า และมีช่วงเสียงที่กว้างกว่ามาก ทำให้เหมาะกับวงออร์เคสตร้ามากกว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ ขลุ่ยรีคอร์ดเดอร์ก็เริ่มเสื่อมความนิยมลง มีความนิยมเล่นน้อยลง น้อยลง จนกระทั่ง นานๆทีจึงมีคนเล่น และหายไปเลย ในที่สุด
ช่วงศตวรรษที่ 19 (ค.ศ. 1800 -1900) ถูกเล่นน้อยมาก และแม้กระทั่ง วิธีทำเครื่องดนตรีชนิดนี้ ก็พลอยจะสูญหายไปด้วย เครื่องดนตรีนี้หายไปจากความนิยมของนักดนตรีและผู้ฟัง จนกระทั่งได้รับการฟื้นคืนมาสู่ความนิยมอีกครั้ง ในศตวรรษที่ 20 โดยมาในรูปแบบการเรียนการสอนเด็กในชั้นเรียนต่างๆทั่วโลก ซึ่งต่างก็ใช้ขลุ่ยชนิดนี้เป็นสื่อในการเรียนดนตรีในขั้นพื้นฐาน
ในปัจจุบัน นิยมใช้เป็นสื่อการสอนวิชาดนตรีให้กับนักเรียน
โดยมีเหตุผลสำคัญว่า
1.สนุก ฝึกง่าย เป็นเร็ว
2.ราคาถูก ทุกคนสามารถซื้อหามาได้
3.พกพาสะดวกเพราะขนาดไม่ใหญ่จนเกินไป
4.ไม่น่าเบื่อเพราะใช้เล่นบรรเลงเพลงต่างๆได้มากมาย
5.บรรเลงเดี่ยวหรือรวมวงกับเครื่องดนตรียอดฮิต อย่าง เปียโน ไวโอลินหรือกีตาร์ ก็สะดวก
ฯลฯ
จบ
เราจะได้รู้ขลุ่ยรีคอรเดอร์
ตอบลบTHANK YOU
ตอบลบ